top of page

About Our Church

History of
HOLY REDEEMER CHURCH

To begin from the very beginning, it should be mentioned that the first Redemptorist church in Bangkok was begun in early November, 1949, and almost immediately given the name, unofficially, Our Lady of the Garage, a small wooden structure attached to the house we were renting.

        We left this house after about two years and moved to a larger building that had once been a clinic belonging to Dr. Srichandra, a Catholic and an early benefactor of the Redemptorists. Sunday Masses, after this move, were at an open hall on the grounds of Mater Dei school.

       During all this time we had been looking for property where we could build a permanent church and rectory, preferably in an area where we could easily be reached by the English – speaking Catholic community in Bangkok, the group that Monsignor Louis Chorin, the then head of the Catholic Church in Bangkok, felt to be more in need of pastoral care, due the lack of English speaking priests.

       In early 1954 we finally found the property we had been looking for - - on Soi Ruam Rudi, a lane with entrances from two important roads, Sukhumvit and Wireless.

       Construction of the church began in early 1954 under the supervision of a very capable architect named Acinelli, a Catholic, delighted at the prospect of building a Catholic Church after the manner of Thai architecture, an idea that had been suggested by the well – known American prelate, Msgr. Fulton Sheen, who happened to be visiting Thailand at the time the First Redemptorist arrived in the country

       The church building was finished in 1954 and was opened on what the Holy Redeemer Church annals call “Dedication Day, October 24, 1954” The same annals record that the celebration that day began at 8:30 in the morning with a Mass that included the dedication of the church by Msgr. Louis Chorin, the Apostolic Delegate. Remember, this was at a time in history when the Catholic Church in Thailand was not yet divided into dioceses.

       The Mass was a joyful as well as a solemn celebration, lasting from 8:30 to 10:30 with a congregation of about 3,000 people, so the annals record, followed by dinner at the then famous Chom Swee Hong restaurant on Chalermkrung (New) Road, a prominent restaurant at the time, run by a Catholic Filipino Chinese family. The celebration continued throughout the day and was finally capped by a late evening supper at the Redemptorist rectory, attended by some 40 of the Bangkok clergy. The complete completion came on December 12 of the same year, when Msgr. Chorin blessed the new Redemptorist rectory.

ประวัติวัดพระมหาไถ่

โบสถ์หลังแรกของคณะพระมหาไถ่ในกรุงเทพฯ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน 2492 เป็นเรือนไม้สร้างติดกับบ้านที่พระสงฆ์ของคณะพักอาศัยอยู่ รู้จักกันในชื่อเล่น ๆ ว่า “วัดแม่พระแห่งโรงรถ”

     สองปีให้หลังได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ กว้างขวางกว่า เดิมเป็นคลีนิกของ นพ. เลิศ ศรีจันทร์ ท่านเป็นคาทอลิกและเป็นผู้มีอุปการะคุณคนแรก ๆ ของคณะพระมหาไถ่ทุกวันอาทิตย์พิธีมหาบูชามิสซาจะทำกันในหอประชุม ณ บริเวณโรงเรียนมาแตร์ เดอี

     ตลอดช่วงเวลาที่กล่าวมา คณะพระมหาไถ่เฝ้ามองหาที่ดินเพื่อจะได้สร้างโบสถ์และบ้านพักพระสงฆ์เป็นหลักแหล่งแน่นอน จุดประสงค์ก็คืออยากได้แหล่งที่ชาวคาทอลิกที่ใช้ภาษาอังกฤษสมารถติดต่อได้สะดวก เนื่องจากพณฯ พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง ประมุขของพระศาสนจักร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขณะนั้นเล็งเห็นว่ากลุ่มชาวคาทอลิกกลุ่มนี้น่าจะได้รับการอภิบาลมากขึ้นกว่าเดิมที่ขาดแคลนพระสงฆ์ที่รู้ภาษาอังกฤษ

      ในที่สุด ตอนต้นปี 2497 คณะก็ได้มาซึ่งที่ดินชั้นหนึ่งตรงตามความต้องการ ตั้งอยู่ในซอยร่วมฤดี มีทางเข้าได้จากถนนสายสำคัญสองสาย คือ ถนนสุขุมวิท และ ถนนวิทยุ

       การก่อสร้างโบสถ์เริ่มขึ้นตอนต้นปี 2497 นั้นเอง ภายใต้การควบคุมของสถาปนิกมือดีชาวอิตาเลี่ยน ชื่อ อาชิเนลลี ท่านตื่นเต้นและดีใจมากที่มีโอกาสออกแบบและสร้างโบสถ์คาทอลิกในแบบสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเป็นดำรัสของพณฯ ฟูลตัน ชีน พระสังฆราชชาวอเมริกันอันเลื่องชื่อเคยให้ไว้ขณะที่ท่านบังเอิญมาเยือนประเทศไทยในเวลาเดียวกันเป็นการมาถึงของพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่

      โบสถ์พระมหาไถ่สร้างเสร็จในปี 2497 และได้มีพิธีเสกเปิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ในจดหมายเหตุของโบสถ์พระมหาไถ่เรียกวันนั้นว่าเป็น วันมอบถวาย (วันเศกวัด?) จดหมายเหตุเดียวกันบันทึกว่า การ เฉลิมฉลองในวันนั้น เริ่มในตอนเช้าเวลา 8:30 น. โดยมีพณฯ พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง สมณฑูต เป็นผู้ถวายมหาบูชามิสซา (อย่าลืมว่า สมัยนั้นพระศาสนจักรในประเทศไทย ยังมิได้แบ่งแยกออกเป็นหลาย สังฆมณฑล)

      จดหมายเหตุบันทึกว่า การถวายมหาบูชามิสซาวันนั้นดำเนินไปอย่างสง่างามตั้งแต่เวลา 8:30 ถึง 10:30 น. นำความปิติยินดีแก่ผู้มาร่วมพิธีกว่า 3,000 คน หลังพิธีมีการเลี้ยงอาหาร ณ ร้านอาหารชมซุยฮง ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นร้านอาหารมีชื่อในสมัยนั้นดำเนินกิจการโดยครอบครัวคาทอลิกชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีน การฉลองดำเนินไปตลอดวันและสิ้นสุดลงโดยการเลี้ยงอาหารเย็น ณ บ้านพักพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ ให้กับพระสงฆ์ราว 4 องค์จากสังฆมณฑลกรุงเทพฯ การก่อสร้างมาเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 12 เดือนธันวาคม ในปีเดียวกัน เมื่อพณฯ พระสังฆราชโชแรง ทำพิธีเสกบ้านพักใหม่ของคณะพระมหาไถ่

  • Facebook
  • Youtube
  • Line
bottom of page